วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์มีความรู้สึก

หุ่นยนต์มีความรู้สึก
                                นักวิทยาศาสตร์เริ่มสอนให้หุ่นยนต์รู้จักความเจ็บปวด



                  กลุ่มนักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีดังกล่าวคิดว่าหุ่นยนต์ที่ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวดนั้นมีคุณค่าต่อการพัฒนาเพื่อมันจะได้ปกป้องตัวมันเองและมนุษย์ที่ทำงานร่วมอยู่กับมันให้ปลอดภัยได้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่มีอันตรายต่อเฟืองหรือมอเตอร์นั้น หุ่นยนต์ก็อาจจะเลือกที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายนั้นได้
                  “ความเจ็บปวดนั้นเป็นระบบที่คอยปกป้องเรา” Johannes Kuehn ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยจาก Leibniz University of Hannover ในเยอรมันกล่าว “เมื่อเราหลีกเลี่ยงจากสาเหตุของความเจ็บปวด มันก็จะช่วยให้เราไม่เจ็บ”
                    ด้วยความคิดนั้น Kuehn และเพื่อนร่วมงาน Sami Haddadin ได้ร่วมกันพัฒนาสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็น “ระบบประสาทประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์” ขึ้นมา ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ มันจะต้องสามารถรับรู้สาเหตุของความเจ็บปวด (เช่น ไฟหรือมีด) และคิดว่าจะต้องทำอย่างไรกับมัน (ปฏิกิริยาตอบสนอง) ซึ่งทั้งสองได้รับแรงบันดาลใจจากระบบประสาทของมนุษย์นั่นเอง          >>อ่านต่อ

เครื่องบินโซลาร์เซลล์

                                                       เครื่องบินโซลาร์เซลล์


                   เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ล่าสุดได้ลงจอดที่เมืองเซบีย่า ประเทศสเปนแล้วหลังจากบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกว่า 70 ชั่วโมง จ่อสร้างประวัติศาสตร์บินรอบโลกครบรอบในเร็วๆนี้
                   หลังจากเริ่มออกเดินทางจากนครอาบูดาบี อาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนมีนาคม 2015 ไปทางตะวันออกเรื่อยๆ เครื่องบินลำนี้ได้ปฏิบัติภารกิจที่ 15 ในการบินจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาลงจอดที่เมืองเซบีย่า ประเทศสเปนได้สำเร็จ ใช้เวลาในการบินช่วงนี้กว่า 70 ชั่วโมงเลยทีเดียว  >>อ่านต่อ

รอยสักกับการผสมผสานแฟชั่นและเทคโนโลยีไว้ด้วยกัน

รอยสักกับการผสมผสานแฟชั่นและเทคโนโลยีไว้ด้วยกัน
            คุณอยากที่จะทำให้รอยสักชั่วคราวของคุณนั้นทำอะไรได้มากกว่าแค่แสดงถึงแฟชั่นหรือเปล่า นักวิจัยได้สร้างอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่สามารถรับรู้ถึงการสัมผัส เช่น การแตะหรือการลากนิ้วผ่าน จุดประสงค์ก็คือ มันจะทำให้คุณสามารถควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องมีสายไฟใดๆ

          อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสวมใส่นั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ อุปกรณ์สำหรับสุขภาพที่ใช้ติดกับผิวสามารถติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ ระดับของน้ำตาลในเลือด และลักษณะอื่นๆ ของร่างกายได้ ตัวตรวจวัดเหล่านั้นมีความบางอย่างมาก อีกทั้งสามารถที่จะยืดได้ ซึ่งช่วยให้อุปกรณ์เหล่านั้นไม่หลุดร่วงออกมาเมื่อผิวหนังของเราเกิดการยืด แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ค่อยสวยงามและมีแนวโน้มว่าจะมีราคาแพงขึ้น >>อ่านต่อ

ไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถช่วยรักษาแผลได้

          ไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถช่วยรักษาแผลได้

                    
                            หลังจากที่หมอเย็บแผลหรือตัดแผลมักจะปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล แต่เมื่อใช้ผ้าปิดแผลก็จะทำให้เรามองไม่เห็นว่าแผลนั้นเริ่มหายหรือยังและอาจเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้แผลติดเชื้อ ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่มีสัญญาณเตือนจนกว่าจะเป็นหนักจนต้องการการรักษา ในปัจจุบันนักวิจัยได้พัฒนาไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถเตือนผู้ให้การรักษาเมื่อแผลมีปัญหา สำหรับรุ่นในอนาคตนั้นอาจจะสามารถส่งถ่ายยาเพื่อช่วยให้แผลที่เย็บนั้นหายได้เร็วขึ้น
                     “ทีมนักวิจัยได้พัฒนาหนทางที่น่าสนใจในการฝังเซ็นเซอร์เข้าไปโดยตรงในผิวของคนไข้” John Rogers กล่าว เขาเป็นนักวัสดุศาสตร์ที่ Northwestern University ที่ Evanston, Ill การฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในร่างกายสามารถเก็บข้อมูลได้แม่นยำมากกว่าอุปกรณ์ที่สวมใส่ภายนอก   >>อ่านต่อ






หุ่นยนต์อัตโนมัติแบบนิ่ม

                                                   หุ่นยนต์อัตโนมัติแบบนิ่ม


                ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนำเสนอหุ่นยนต์ที่เรียกว่า "หุ่นยนต์นิ่ม" อย่างแท้จริงตัวแรก โดยจุดเด่นอยู่ที่การทำงานอัตโนมัติ ไร้สายควบคุม แถมยังไร้วงจรอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า "ออกโตบอต" (octobot) ถือว่าเป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติรุ่นใหม่ที่เกิดจากผลงานการสร้างสรรค์ของนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องพิมพ์สามมิติ วิศวกรรมเครื่องกลและระบบของไหลระดับไมโคร โดยงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว
"หุ่นยนต์นิ่ม" ถือว่าเป็นแนวคิดการสร้างหุ่นยนต์รูปแบบใหม่ให้ได้หุ่นยนต์ที่อ่อน แนวคิดนี้อาจจะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรได้
                              >>อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไร้สายใหม่ ไวกว่า Wi-Fi ถึง 100 เท่า * Li - Fi *


              เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลด้วยความเร็วถึง 224 gigabits ผ่านเทคโนโลยี Li-Fi ในห้องแลป ซึ่งความเป็นไปได้ในการที่เทคโนโลยีดังกล่าวจะเปลี่ยนทุกสิ่งเกี่ยวกับวิธีการใช้อินเตอร์เน็ตของเรานั้นมีสูงมาก และตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ได้เอา Li-Fi ออกมาจากห้องแลปเป็นครั้งแรกและกำลังทดสอบมันอยู่ในออฟฟิศและสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งพวกเขาได้รายงานว่า พวกเขาสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 1 Gigabyte ต่อวินาที ซึ่งมากเป็น 100 เท่าของความเร็วเฉลี่ยของ Wi-Fi ในปัจจุบัน
                                      อ่านต่อ ^0^

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ช่วยนำทางในสนามบิน

หุ่นยนต์ตัวนี้เกิดจากการพัฒนาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Örebro ในสวีเดน โดยได้รับความร่วมมือจากทางสหภาพยุโรป มีความร่วมมือกับนักวิจัยและภาคธุรกิจจากกว่า 5 ประเทศด้วยกัน
"ระบบนำทางในสนามบินเป็นเรื่องที่ยาก มีกระจกมากมาย สิ่งแวดล้อมที่ถือว่าเป็นสิ่งกีดขวางก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ทั้งรถเข็น และคนที่เดินไปมาทุกที่" ศาสตราจารย์อาคิม ลิเลียนทาล แห่งภาควิชาคอมพิวเตอร์ หัวหน้าโครงการเผยในระยะเวลา 1 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2015 จะมีการนำหุ่นยนต์ตัวนี้ไปทดสอบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานนานาชาติสคิโพล หลังจากทดสอบแล้ว จะมีการนับผลที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงตัวหุ่นและทดสอบจริงอีกครั้งในเดือนมีนาคม
หุ่นยนต์นี้เป็นหุ่นยนต์ที่มองหน้าตรงตลอดเวลา มีความเป็นมิตรแม้หน้าตาจะไม่เปลี่ยนแปลง มีหน้าที่นำทางผู้โดยสารที่ไม่คุ้นเคยกับท่าอากาศยานให้ไปถึงที่หมาย เช่น ประตูขึ้นเครื่อง  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Örebro เริ่มจากการใส่แผนที่เริ่มต้นให้กับหุ่นก่อน จากนั้นหุ่นจะทำการสำรวจสิ่งรอบข้างโดยการวัดระยะทางระหว่างสิ่งกีดขวางนั้นๆ กับหุ่นโดยใช้แสงเลเซอร์ แผนที่ที่ใส่ไปให้ตอนแรกนั้นจะมีเฉพาะสิ่งกีดกวางที่ประจำอยู่กับที่แล้ว เช่น กำแพง          อ่านต่อ ^^
                                     

แบตเตอรี่ยืดหยุ่น


แบตเตอรี่ไม่จำเป็นที่จะต้องแข็งและมีลักษณะที่เทอะทะอยู่เสมอไป วิศวกรได้รับแรงบันดาลใจจากกระดาษพับญี่ปุ่นเพื่อใช้ออกแบบแบตเตอรี่ที่สามารถขยายความยาวเดิมของตัวเองออกไปได้ถึงประมาณ 150 เปอร์เซ็นต์ แบตเตอรี่นี้สามารถให้พลังงานกับนาฬิกาจำพวกสมาร์ทวอชได้
“อุปกรณ์สวมใส่แบบพกพาในแบบต่างๆจะได้รับผลดีจากแบตเตอรี่ที่สามารถยืดได้นี้” John Rogers กล่าว Rogers เป็นนักวัสดุศาสตร์จาก University of Illinois เขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยแบตเตอรี่ชนิดใหม่ในครั้งนี้ แต่อดีตเพื่อนร่วมงานของเขามีส่วนเกี่ยวข้อง
วิศวกรได้ทำการสร้างอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่เคลื่อนย้าย และมีความยืดหยุ่นได้ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ที่ติดอยู่ภายในของสายรัดข้อมือ ซึ่งอาจจะเล่นเพลงในระหว่างที่ออกกำลังกายได้ หรือไม่ก็สามารถที่จะติดตามอัตราการเต้นของหัวใจได้ อุณหภูมิของร่างกาย หรือแม้กระทั่งสถานที่ ในการสร้างสิ่งนี้ วิศวกรต้องทำให้อุปกรณ์ของเขามีขนาดที่เล็ก ทนทานและยืดหยุ่น อุปกรณ์เหล่านี้ต้องเหมาะสมกับแห่งพลังงานที่มีคุณภาพในระดับเดียวกันด้วย

                                                                      อ่านต่อ

เครื่องสแกนใบหน้าพร้อมลายนิ้วมือ

           
              เครื่องสแกนใบหน้ารุ่นใหม่ S501 Multibio 700 Bio 700 สามารถเก็บใบหน้าได้ถึง 1500 หน้า และรองรับการสแกนลายนิ้วมือได้ถึง 2000 ลายนิ้วมือ เก็บข้อมูลการลงเวลาได้มากถึง 100,000 รายการ พร้อมจอระบบสัมผัส Touch Screen 3" Digital Color TFT ขนาดใหญ่ ตัวเครื่องมีความเร็วในการสแกนหน้าที่แม่นยำ ด้วยลักษณะการสแกนหน้าแบบไบโอเมตริกส์ นอกจากนี้ยังรองรับการสแกนแบบลายนิ้วมือที่รวดเร็ว และสามารถรองรับฟังก์ชั่นการอ่านบัตร Proximity หรือ Mifare ได้ พร้อมเทคโนโลยีเสียงตอบรับเป็นภาษาไทย ในการสแกนว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน

                 เครื่องสแกนใบหน้ารุ่น S501 Multibio700 Bio700 เน้นระบบประหยัดพลังงาน โดยใช้ไฟ เพียง 12 โวลท์ และด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบ TCP/IP ที่สามารถกำหนด IP Adderss ให้กับเครื่องเพื่อการเชื่อมต่อในระบบอีเธอร์เน็ต (Ethernet) รองรับการใช้งานใน 1 สถานที่สูงถึง 255 เครื่อง หรือจะเชื่อมต่อแบบ RS232 หรือ แบบ RS485 ซึ่งสามารถเดินสายได้ไกลถึง 1 กิโลเมตร รองรับการเชื่อมต่อ USB อีกด้วย
       

                                                                     อ่านต่อ

เปิดตัว canon ( กล้องแคนนอน)



                แคนนอนเปิดตัวกล้องดิจิตอลคอมแพคพลังซูมสูงระดับ พรีเมี่ยมตระกูลซีรี่ส์ รุ่นล่าสุด "Canon PowerShot G3 X" ที่มาพร้อมเซนเซอร์ CMOS ขนาดใหญ่พิเศษ 1 นิ้วให้ภาพคมชัดเหนือกว่าแม้ในสภาพแสงน้อย เสริมประสิทธิภาพด้วยเลนส์ซูมออปติคอลขยาย 25 เท่า ทางยาวโฟกัส 24-600 มม. พร้อมฟังก์ชั่น Zoom Framing Assist ปรับปรุงใหม่ช่วยให้การซูมทุกระยะใกล้ไกลเป็นไปได้ และระบบป้องกันภาพสั่นไหว Dynamic Image Stabilisation ใหม่ จับภาพเคลื่อนไหวได้คมชัดน่าทึ่งทุกสถานการณ์
"นักเดินทางส่วนใหญ่ต้องการ กล้องที่มาพร้อมเลนส์ซูมระยะไกล เพื่อเก็บรายละเอียดของทัศนียภาพธรรมชาติที่สวยงาม หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการได้ครบครันจากระยะไกล แคนนอนจึงออกแบบกล้อง PowerShot G3 X ให้ตอบโจทย์นี้ โดยเลือกใช้เซนเซอร์ CMOS ประสิทธิภาพสูงขนาดใหญ่ 1 นิ้ว กับเลนส์ซูมที่มีช่วงเลนส์กว้างถึง 24-600 มม. และฟังก์ชั่นถ่ายวิดีโอพัฒนาใหม่ให้ทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม" 
                                                                      อ่านต่อ