วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์มีความรู้สึก

หุ่นยนต์มีความรู้สึก
                                นักวิทยาศาสตร์เริ่มสอนให้หุ่นยนต์รู้จักความเจ็บปวด



                  กลุ่มนักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีดังกล่าวคิดว่าหุ่นยนต์ที่ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวดนั้นมีคุณค่าต่อการพัฒนาเพื่อมันจะได้ปกป้องตัวมันเองและมนุษย์ที่ทำงานร่วมอยู่กับมันให้ปลอดภัยได้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่มีอันตรายต่อเฟืองหรือมอเตอร์นั้น หุ่นยนต์ก็อาจจะเลือกที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายนั้นได้
                  “ความเจ็บปวดนั้นเป็นระบบที่คอยปกป้องเรา” Johannes Kuehn ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยจาก Leibniz University of Hannover ในเยอรมันกล่าว “เมื่อเราหลีกเลี่ยงจากสาเหตุของความเจ็บปวด มันก็จะช่วยให้เราไม่เจ็บ”
                    ด้วยความคิดนั้น Kuehn และเพื่อนร่วมงาน Sami Haddadin ได้ร่วมกันพัฒนาสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็น “ระบบประสาทประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์” ขึ้นมา ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ มันจะต้องสามารถรับรู้สาเหตุของความเจ็บปวด (เช่น ไฟหรือมีด) และคิดว่าจะต้องทำอย่างไรกับมัน (ปฏิกิริยาตอบสนอง) ซึ่งทั้งสองได้รับแรงบันดาลใจจากระบบประสาทของมนุษย์นั่นเอง          >>อ่านต่อ

เครื่องบินโซลาร์เซลล์

                                                       เครื่องบินโซลาร์เซลล์


                   เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ล่าสุดได้ลงจอดที่เมืองเซบีย่า ประเทศสเปนแล้วหลังจากบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกว่า 70 ชั่วโมง จ่อสร้างประวัติศาสตร์บินรอบโลกครบรอบในเร็วๆนี้
                   หลังจากเริ่มออกเดินทางจากนครอาบูดาบี อาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนมีนาคม 2015 ไปทางตะวันออกเรื่อยๆ เครื่องบินลำนี้ได้ปฏิบัติภารกิจที่ 15 ในการบินจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาลงจอดที่เมืองเซบีย่า ประเทศสเปนได้สำเร็จ ใช้เวลาในการบินช่วงนี้กว่า 70 ชั่วโมงเลยทีเดียว  >>อ่านต่อ

รอยสักกับการผสมผสานแฟชั่นและเทคโนโลยีไว้ด้วยกัน

รอยสักกับการผสมผสานแฟชั่นและเทคโนโลยีไว้ด้วยกัน
            คุณอยากที่จะทำให้รอยสักชั่วคราวของคุณนั้นทำอะไรได้มากกว่าแค่แสดงถึงแฟชั่นหรือเปล่า นักวิจัยได้สร้างอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่สามารถรับรู้ถึงการสัมผัส เช่น การแตะหรือการลากนิ้วผ่าน จุดประสงค์ก็คือ มันจะทำให้คุณสามารถควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องมีสายไฟใดๆ

          อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการสวมใส่นั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ อุปกรณ์สำหรับสุขภาพที่ใช้ติดกับผิวสามารถติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ ระดับของน้ำตาลในเลือด และลักษณะอื่นๆ ของร่างกายได้ ตัวตรวจวัดเหล่านั้นมีความบางอย่างมาก อีกทั้งสามารถที่จะยืดได้ ซึ่งช่วยให้อุปกรณ์เหล่านั้นไม่หลุดร่วงออกมาเมื่อผิวหนังของเราเกิดการยืด แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ค่อยสวยงามและมีแนวโน้มว่าจะมีราคาแพงขึ้น >>อ่านต่อ

ไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถช่วยรักษาแผลได้

          ไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถช่วยรักษาแผลได้

                    
                            หลังจากที่หมอเย็บแผลหรือตัดแผลมักจะปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล แต่เมื่อใช้ผ้าปิดแผลก็จะทำให้เรามองไม่เห็นว่าแผลนั้นเริ่มหายหรือยังและอาจเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้แผลติดเชื้อ ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่มีสัญญาณเตือนจนกว่าจะเป็นหนักจนต้องการการรักษา ในปัจจุบันนักวิจัยได้พัฒนาไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถเตือนผู้ให้การรักษาเมื่อแผลมีปัญหา สำหรับรุ่นในอนาคตนั้นอาจจะสามารถส่งถ่ายยาเพื่อช่วยให้แผลที่เย็บนั้นหายได้เร็วขึ้น
                     “ทีมนักวิจัยได้พัฒนาหนทางที่น่าสนใจในการฝังเซ็นเซอร์เข้าไปโดยตรงในผิวของคนไข้” John Rogers กล่าว เขาเป็นนักวัสดุศาสตร์ที่ Northwestern University ที่ Evanston, Ill การฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในร่างกายสามารถเก็บข้อมูลได้แม่นยำมากกว่าอุปกรณ์ที่สวมใส่ภายนอก   >>อ่านต่อ






หุ่นยนต์อัตโนมัติแบบนิ่ม

                                                   หุ่นยนต์อัตโนมัติแบบนิ่ม


                ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนำเสนอหุ่นยนต์ที่เรียกว่า "หุ่นยนต์นิ่ม" อย่างแท้จริงตัวแรก โดยจุดเด่นอยู่ที่การทำงานอัตโนมัติ ไร้สายควบคุม แถมยังไร้วงจรอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า "ออกโตบอต" (octobot) ถือว่าเป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติรุ่นใหม่ที่เกิดจากผลงานการสร้างสรรค์ของนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องพิมพ์สามมิติ วิศวกรรมเครื่องกลและระบบของไหลระดับไมโคร โดยงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว
"หุ่นยนต์นิ่ม" ถือว่าเป็นแนวคิดการสร้างหุ่นยนต์รูปแบบใหม่ให้ได้หุ่นยนต์ที่อ่อน แนวคิดนี้อาจจะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรได้
                              >>อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไร้สายใหม่ ไวกว่า Wi-Fi ถึง 100 เท่า * Li - Fi *


              เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลด้วยความเร็วถึง 224 gigabits ผ่านเทคโนโลยี Li-Fi ในห้องแลป ซึ่งความเป็นไปได้ในการที่เทคโนโลยีดังกล่าวจะเปลี่ยนทุกสิ่งเกี่ยวกับวิธีการใช้อินเตอร์เน็ตของเรานั้นมีสูงมาก และตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ก็ได้เอา Li-Fi ออกมาจากห้องแลปเป็นครั้งแรกและกำลังทดสอบมันอยู่ในออฟฟิศและสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งพวกเขาได้รายงานว่า พวกเขาสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 1 Gigabyte ต่อวินาที ซึ่งมากเป็น 100 เท่าของความเร็วเฉลี่ยของ Wi-Fi ในปัจจุบัน
                                      อ่านต่อ ^0^

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ช่วยนำทางในสนามบิน

หุ่นยนต์ตัวนี้เกิดจากการพัฒนาของนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Örebro ในสวีเดน โดยได้รับความร่วมมือจากทางสหภาพยุโรป มีความร่วมมือกับนักวิจัยและภาคธุรกิจจากกว่า 5 ประเทศด้วยกัน
"ระบบนำทางในสนามบินเป็นเรื่องที่ยาก มีกระจกมากมาย สิ่งแวดล้อมที่ถือว่าเป็นสิ่งกีดขวางก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ทั้งรถเข็น และคนที่เดินไปมาทุกที่" ศาสตราจารย์อาคิม ลิเลียนทาล แห่งภาควิชาคอมพิวเตอร์ หัวหน้าโครงการเผยในระยะเวลา 1 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2015 จะมีการนำหุ่นยนต์ตัวนี้ไปทดสอบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานนานาชาติสคิโพล หลังจากทดสอบแล้ว จะมีการนับผลที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงตัวหุ่นและทดสอบจริงอีกครั้งในเดือนมีนาคม
หุ่นยนต์นี้เป็นหุ่นยนต์ที่มองหน้าตรงตลอดเวลา มีความเป็นมิตรแม้หน้าตาจะไม่เปลี่ยนแปลง มีหน้าที่นำทางผู้โดยสารที่ไม่คุ้นเคยกับท่าอากาศยานให้ไปถึงที่หมาย เช่น ประตูขึ้นเครื่อง  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Örebro เริ่มจากการใส่แผนที่เริ่มต้นให้กับหุ่นก่อน จากนั้นหุ่นจะทำการสำรวจสิ่งรอบข้างโดยการวัดระยะทางระหว่างสิ่งกีดขวางนั้นๆ กับหุ่นโดยใช้แสงเลเซอร์ แผนที่ที่ใส่ไปให้ตอนแรกนั้นจะมีเฉพาะสิ่งกีดกวางที่ประจำอยู่กับที่แล้ว เช่น กำแพง          อ่านต่อ ^^